Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศัพท์ดาราศาสตร์

1) Achromatic Lens (อะ-โคร-มา-ติค-เลนซ์) หรือ achromat  เป็นเลนซ์ที่ถูกออกแบบมาให้ลดความคลาดเคลื่อนทางแสง โดยปกติจะใช้เลนซ์ 2 ชิ้นที่ทำจากเนื้อแก้วต่างชนิดกัน มาประกบกันเพื่อให้ได้ผลรวมของแสงตกมาอยู่ที่โฟกัสเดียวกัน

2) Active galactic nuclei (AGN) (แอค-ตีฟ-กา-แลค-ติด-นู-คลิ-ไอ) เป็นกาแลกซี่ทั่วไปที่มีหลุมดำ (Black Hole) ขนาดใหญ่กำลังดูดกลืน มวลสาร ของก๊าซโดยรอบอยู่ ซึ่งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลในรูปของสเปคตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงความถี่

3) Altitude (อัล-ติ-จูด) เป็นการวัดมุมสูงของวัตถุบนท้องฟ้า  เริ่มจากระดับสายตาของผู้สังเกต (Horizontal) 0 องศา สูงขึ้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ (Zenith) ค่า 90 องศา ถ้าวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาจะมีค่าเป็นลบ มุมสุงสุดจึงมีค่า 90 องศาเท่านั้น  ดูคำว่า Azimuth

4) Anomaly (อะ-โน-มา-รี่) เป็นการวัดเชิงมุมในการบอกตำแหน่งของวัตถุบนวงโคจรที่เป็นวงรี 

5) Apogee (อะ-โพ-จี่) ตำแหน่งไกลที่สุดบนวงโคจรของวัตถุ เช่น ดวงจันทร์ หรือดาวเทียม ที่โคจรเป็นวงรีรอบโลก ส่วนคำคู่กันคือ perigee คือตำแหน่งใกล้โลกที่สุด

6)Barnard's Star (บา-นาดร์-สตาร์) เป็นดาวแคระแดงอยู่ห่างจากโลก 6 ปีแสงในกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) เป็นดาวอยู่ใกล้โลกอันดับต่อจาก อัลซ่าเซนทอรี่ ผู้ค้นพบโดย E.E.Barnard  มีความสว่าง 9.5  หรือ 0.0004 เท่าของความสว่างของดวงอาทิตย์

7)Bennett Comet (ดาวหาง เบนเนท) หนึ่งในดาวหางที่สว่างในช่วงศตวรรณที่ 20  ค้นพบโดยนักดูดาวสมัครเล่นชาวอาฟริกาใต้ John Caister Bennett เมื่อปีคศ.1969

8)Blazar (บา-ซ่าร์) เป็นลูกผสมระหว่าง BL Lacertae Object  กับ ควอซ่าร์  เป็นพวกกาแลกซี่ที่ผิดแผกไปจากชาวบ้าน ที่เป็นพวก AGN  บาซ่าร์มีความสว่างเปลี่ยนแปลงแปรผันรุนแรงมาก รวมทั้งโพลาไรเซชั่นและการปล่อยคลื่นวิทยุ

9)Binary pulsar (ไบ-นา-รี่ พัล-ซาร์)  เป็นพัลซ่าร์ที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์คล้ายกับเป็นระบบดาวคู่ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี คศ.1974 คือ PSR 1913+16 ประกอบด้วยดาวนิวตรอนกับดาวที่ไม่ปล่อยคลื่นวิทยุ โคจรรอบกันกินเวลา 7 -3/4 ชั่วโมง

10)Butterfly Diagram (บัท-เทอ-ฟลาย ได-อะ-แกรม) เป็นแผนผังการเปลี่ยนแปลงจุดบนดวงอาทิตย์ในรอบ 11 ปี กราฟทางแนวตั้งบอกตำแหน่งละติจูดบนดวงอาทิตย์ ซึ่งจะสร้างภาพสมมาตรคล้ายรูปผีเสื้อ แผนผังนี้คิดขึ้นโดย Edward  Maunder เมื่อปี 1904

11)Cassini Division (แคส-ซิ-นี่ ดิวิชั่น)  เป็นช่องว่างระหว่างวงแหวน A และ B ของดาวเสาร์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Giovanni Cassini เมื่อปี คศ.1675  แต่ต่อมายานวอยเอเจอร์พบว่าไม่ได้เป็นช่องว่างแท้จริง แต่ประกอบด้วยวงแหวนเล็กๆอีกนับร้อยวง

12)Cassiopeia A (แคส-ซ-ิโอ-เปีย- เอ) แหล่งคลื่นวิทยุความเข้มสูงบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นซากหลงเหลือจากการระเบิดของซุปเปอร์โนวา เมื่อราว คศ.1660  แต่ไม่มีการบันทึกการเห็นไว้บนโลก ทิ้งซากไว้เป็นเนบิวล่าจางๆ อยู่ห่างจากโลกราว 10,000 ปีแสง

13)Celestial Equator (ซี-เลส-เชียน- อิ-เคว-เตอร์) เป็นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก ที่ขยายไปปรากฏบนทรงกลมท้องฟ้า เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า ดังนั้นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก กับ แนวเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า จะเป็นแนวเดียวกัน

14)Celestial Object (ซี-เลส-เชียน ออปเจ็คท์) ใช้เรียกวัตถุที่อยู่บนทรงกลมท้องฟ้า เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวหาง และอื่นๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์

15)Celestial mechanics (ซี-เลส-เชียน-แมค-คา-นิค) สาขาหนึ่งของวิชาดาราศาสตร์ ที่อธิบายถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุบนท้องฟ้า โดยใช้กฏ ทางฟิสิกส์ อธิบายแนวการโคจรของดาวเคราะห์ ดาวเทียม และอื่นๆ

16)Deep sky  เอกภพที่อยู่ไกลจากระบบสุริยะออกไป ได้แก่พวก กระจุกดาว  เนบิวล่า และ กาแลกซี่ โดยเรียกรวมๆกันว่า Deep sky object  ทั้งนี้จะไม่รวมดาวฤกษ์ไว้ด้วย

17)Degenerate matter (ดี-เจน-เนอ-เรท  แมท-เทอร์) สภาวะคงอยู่ของดาวฤกษ์ช่วงวิวัฒนาการสุดท้าย หลังจากที่พลังงานนิวเคลียร์ที่แกนกลางหมดลง

18)Doublet  (ดับ-เล็ท) เป็นลักษณะของเลนซ์สองชิ้นที่นำมาไว้ใกล้กันหรือคั่นด้วยช่องว่าง เพื่อลดอาการคลาดสีที่เรียกว่า chromatic aberration

19)Dwarf Galaxy  หรือกาแลกซี่แคระ เป็นกาแลกซี่ที่มีขนาดเล็กกว่ากาแลกซี่ทั่วไปและมีความสว่างน้อย โดยทั่วไปจะเป็นพวกกาแลกซี่รูปไข่(elliptical) หรือ กาแลกซี่ไร้รูปร่าง (Irregular)  มีกาแลกซี่แคราะมากมายเป็นเพื่อนบ้านของทางช้างเผือก อยู่ในกลุ่มกาแลกซี่ท้องถิ่น (Local Group)

20)Dynamical Parallax  เป็นระยะทางที่วัดจากระบบดาวคู่ กำหนดโดยความสัมพันธ์ระหว่างมวลของดาวทั้งสอง ขนาดวงโคจร และคาบ

21)Evolved star (อิ-ฝอลฟ-สตาร์) เป็นช่วงปลายสุดของชีวิตของดาวฤกษ์ เมื่อเชื้อเพลิงใกล้หมด โดยสังเกตได้จาก ผิวของดาวฤกษ์นั้นๆ

22)Event Horizon (อีเวนต์ ฮอลิโซน) เป็นขอบเขตของหลุมดำ (Black hole) ที่ซึ่งไม่มีวัตถุใดสามารถรอดพ้นการจับของหลุมดำไปได้ รัศมีของ Event Horizon เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ Schwarzschild radius

23)Fire ball (ไฟล์-บอล) เป็นคำจำกัดความเรียกดาวตกที่มีความสว่างมากๆ ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องมีความสว่างมากกว่าดาวเคราะห์ ซึ่งในปัจจุบัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ สว่างที่สุด ดังนั้น ดาวตกที่มีความสว่างมากกว่า -4.7 ก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ของ fire ball ด้วย ซึ่งฝนดาวตกเจมินิค ในเดือนธันวาคม จะปรากฏ fire ball มากกว่าอันอื่นๆ

24)Galactic halo (กา-แลค-ติค-ฮา-โล) คือขอบเขตทรงกลมที่ล้อมรอบศูนย์กลางของกาแลกซี่ รวมถึงเป็นขอบเขตสว่างของกาแลกซี่ ที่แผ่ขยายออกไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมวลของกาแลกซี่นั้น

25)Galaxy (กาแลกซี่) เป็นส่วนหนึ่งของเอกภพ ที่ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซ และดาวฤกษ์จำนวนนับล้านล้านดวง โดยส่งแรงดึงดูดถึงกันและกัน เกาะกลุ่มกันเป็นดาราจักร

26)Geocentric distance (จี-โอ-เซน-ทริด ดิส-แตนซ์) (delta) หมายถึงระยะทางจากวัตถุท้องฟ้าถึงโลก โดยทั่วไปจะใช้หน่วยวัดเป็น astronomical units (AU.)

27)Heliocentric distance (r) (ฮี-ลี-โอะ-เซ็น-ทริค-ดิซ-แทน) คือระยะทางจากวัตถุถึงดวงอาทิตย์ โดยทั่วไปจะบอกหน่วยเป็นastronomical units (AU.)

28)Inclination (อิน-คลิ-เน-ชัน) ระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์ เมื่อเทียบกับระนาบอิคลิปติด ว่าทำมุมกันกี่องศา เช่น ดวงจันทร์ มีระนาบ 5 deg 09 min

29)Julian Day (จูเลียน เดย์) เป็นระบบจำนวนวันแบบต่อเนื่องไม่มีการแบ่งเป็นเดือนหรือปี มักใช้ในทางดาราศาสตร์คำนวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นบนท้องฟ้า โดยวันที่ 1 January 4713 BC. เวลาเที่ยงวันตามเวลา GMT จะหมายถึงวันที่ 0 ของ julian day  แนวคิดนี้ ได้มาจาก นักประดิษฐปฏิทินชาวฝรั่งเศส ชื่อ Joseph Justus Scaliger เมื่อปี คศ.1582 โดยวันที่ 1 มกราคม 1995 เวลา 18.00 น.  มีค่าเท่ากับ 2,449,719.25

30)Kelvin อ่านว่า เคลวิน เป็นค่าองศาสัมบูรณ์ มีค่าเท่ากับ 273.16  องศาเซลเซียส หรือ  K = C + 273.16

31)Lunar Eclipse (ลูน่า อิคลิปส์) หรือ จันทรุปราคา  เป็นปรากฏการณ์ที่เงาของโลกบังดวงจันทร์ มักเกิดขึ้นช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เพราะดวงจันทร์ อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์พอดี

32)Meteoroids (มี-ทิ-เออ-ลอย) หรือดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มของวัตถุขนาดเล็กเป็นพวกหิน และฝุ่น ที่โคจรอยู่รอบ ดวงอาทิตย์ อยู่ระหว่าง ดาวอังคารกับดาวพฤหัส  ดาวเคราะห์น้อยบางดวงเป็นเศษซากหลงเหลือของดาวหางด้วย กลุ่มของดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้บางที่เราก็เรียกว่า Meteor Stream

33)Meteor Train (มี-ทิ-เออ-ทเรน) หางของฝุ่นหรือก๊าซที่แตกตัว หลงเหลือเป็นทางยาวตามแนวดาวตกนั่นเอง 

34)Nadir (เน-เดอะ) เป็นจุดที่อยู่ตรงข้ามกับจุด Zenith อยู่บริเวณท้าวของผู้สังเกตตรงลงไปใต้ดินผ่านไปฟากหนึ่งของโลก

35)Oort clound (อ๊อต-คราว) เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหาง หรือ ดงดาวหาง มีลักษณะเป็นทรงกลมล้อมรอบระบบสุริยะของเราอยู่ โดยอยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ 6,000 Au. หรือครึ่งทางจากดาวฤกษ์ดวงใกล้สุด ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นของ Ernst Opik ในปี 1932 และได้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยJan Oort ในปี 1950

36)Occultation (อ็อค-คัล-เท-ชั่น) คือการบังกันของวัตถุบนท้องฟ้า เช่นดาวเคราะห์บังแสงจากดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลๆ หรือ การที่ดวงจันทร์บังแสง จากดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างไกลออกไป

37)parsec (พา-เซค) ย่อว่า (pc) เป็นหน่วยวัดความยาวทางดาราศาสตร์ โดยที่ 1 พาเสค มีค่าเท่ากับ 3.26 ปีแสง หรือ 3.1 × 1016 กิโลเมตร

38)perigee (เพ-ลิ-จี) ตำแหน่งใกล้สุดบนวงโคจรของวัตถุที่โคจรรอบโลก เช่น ดาวเทียมหรือดวงจันทร์ (Moon) ตรงข้ามกับคำว่า apogee

39)perihelion (เพ-ลิ-ฮีล-เยน) ตำแหน่งใกล้สุดบนวงโคจรของวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิยต์เช่นดาวหาง หรือ ดาวเคราะห์ ตรงข้ามกับคำว่าaphelion

40)Plasma (พลาส-ม่า) หมายถึงก๊าซแรงดันต่ำ ซึ่งประกอบด้วยอะตอม และ อะตอมที่แตกตัว ของก๊าซ ซึ่งมีประจุบวกและลบในปริมาณที่เท่ากัน ทำให้มีสภาพเป็นกลาง

41)Radiant (เร-เดียท) จุดที่เสมือนว่าดาวตกได้แพร่กระจ่ายมาจากแหล่งนั้นบนท้องฟ้า

42)Radiant Drift (เร-เดียท-ดริฟท) เป็นการเคลื่อนที่ของตำแหน่ง radiant ของฝนดาวตก เมื่อเทียบกับดาวที่เป็นฉากหลัง  เกิดขึ้นจากที่โลก เคลื่อนที่ผ่านแนวของฝนดาวตกนั้นๆ 

43)Solar flares (โซ-ล่า-ฟแล) หมายถึง แรงระเบิดอย่างรุนแรงของก๊าซที่อยู่ผิวชั้นนอกของดวงอาทิตย์

44)Solar Eclipse (โซล่า-อิคลิปส์) เป็นปรากการณ์ที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ มักเกิดขึ้นช่วงขึ้น 1 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์พอดี

45)Solar Longitude (โซ-ล่า-ลอง-กิ-จูด) เป็นระยะห่างเชิงมุมที่กำหนดโดยตำแหน่งของโลกบนวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตำแหน่งเส้นลองกิจูดทางภูมิศาสตร์บนดวงอาทิตย์นั่นเอง

46)Terrestrial planets (เทอ-เลส-เชียน-แพลน-เนต)  เป็นคำที่ถูกใช้เรียกแทนดาวเคราะห์ 4 ดวงคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร เนื่องจากมีเอกลักษณ์คล้ายกัน เช่น ขนาดใกล้เคียงกัน ความหนาแน่น และ จำนวนบริวารซึ่งมีไม่มาก

47)umbra (อัม-บละ) ใช้เรียกบริเวณศูนย์กลางของจุดดับบนดวงอาทิตย์ ที่มีสีเข้มที่สุด หรือ เรียกบริเวณเงามืด ของปรากฏการณ์จันทรุปราคา ด้วยเช่นกัน คู่กับคำว่า penumbra

48)white dwarf  (ไว้ท-ดวอฟ) ดาวแคระขาว เป็นดาวฤกษ์ที่ขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ของเรา ที่หมดพลังงานนิวเคลียร์ที่แกนกลางแล้ว หลังจากที่ขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดง (Red Giant) แล้วก็จะเริ่มค่อยๆหดตัวเล็กๆ จนมีขนาดราว 1 ใน 100 ของดวงอาทิตย์หรือเท่ากับโลกของเรา ด้วยมวลที่เท่ากับดวงอาทิตย์และมีขนาดเท่าโลก ทำให้ความหนาแน่น ของดาวแคระขาวสูงมาก คือประมาณ 1 ล้านเท่าของความหนาแน่นของน้ำ

49)Zenith (ซี-นิธ)  คือจุดที่อยู่กลางศีรษะของผู้สังเกต บนทรงกลมท้องฟ้า (Celestial sphere) คนไทยเรียก "จุดจอมฟ้า หรือ จุดยอดฟ้า" ส่วนจุดที่อยุ่ตรงข้ามกับจุด Zenith เรียกว่า จุดnadir 

50)Zenithal Hourly Rate (ZHR) (ซี-นิท-เทอะ เอาว-รี เรท) เป็นอัตราการเกิดฝนดาวตกที่สังเกตได้จากผู้สังเกตเมื่อท้องฟ้ามืดสนิท โดยที่ตำแหน่ง radiant อยู่ที่จุดเหนือศีรษะพอดี
 


อ้างอิง

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เพลงเกี่ยวกับดวงดาว

เธอกับดาว


เนื้อเพลง


อยู่ตรงนี้เฝ้ามองดูดาว ทบทวนเรื่องราวที่ฝังในใจ
เปรียบกับดาวที่ดูแสนไกล และเธอก็คงเหมือนกัน
อย่างที่รู้ว่าเธอนั้นสูงเกินไป
สำหรับฉันที่จะเอื้อมเธอลงมาจากฟ้า
ได้แต่เฝ้าเพ้อ คนเดียวอย่างนี้

เหม่อมองฟ้าทั้งวันและคืน
ไม่อาจฝืนที่จะคิดถึงเธอ
อยากให้รู้เธอเท่านั้นที่เป็นหนึ่ง
เหมือนดาวที่อยู่เบื้องบน
ส่องแสงมาให้ใจฉันชื่นชม อยู่ตรงนี้

ไม่มีหวัง ให้เป็นดังใจ
ฉันยังห่วงใย เธอทุกเวลา
เปรียบกับเธอ ฉันนั้นดูไร้ค่า
ขอยอมรับความเป็นจริง

เธอคือดาว คู่ควรฟ้าที่กว้างใหญ่
จะไม่ดึงให้เธอโน้มตัวมาแนบกับดิน
ได้แต่มองเธอ ไกลไกลอย่างนี้

เหม่อมองฟ้าทั้งวันและคืน
ไม่อาจฝืนที่จะคิดถึงเธอ
อยากให้รู้เธอเท่านั้นที่เป็นหนึ่ง
เหมือนดาวที่อยู่เบื้องบน
ส่องแสงมาให้ใจฉันชื่นชม อยู่ตรงนี้

เหม่อมองฟ้าทั้งวันและคืน
ไม่อาจฝืนที่จะคิดถึงเธอ
อยากให้รู้เธอเท่านั้นที่เป็นหนึ่ง
ให้ความรู้สึกที่ดี อย่างนี้อยู่เรื่อยไปให้รู้ว่า

เมื่อเหม่อมองฟ้าทั้งวันและคืน
ไม่อาจฝืนที่จะคิดถึงเธอ
อยากให้รู้เธอเท่านั้นที่เป็นหนึ่ง
เหมือนดาวที่อยู่เบื้องบน
ส่องแสงมาให้ใจฉันชื่นชม อยู่ตรงนี้





บอกรักกับดาว


เนื้อเพลง


ฟ้าจะมืดจะหมอง ลมจะแปรจะปรวน
ใจไม่เรไม่รวนไม่เคยหลงทาง
เพราะใจมีดาวหนึ่งดวง ส่องมืดมนให้เจือจาง
ไม่อ้างว้างไม่หวั่นไหว

คนหนึ่งคนตรงนี้ ใจหนึ่งใจดวงนี้
ไม่มีที่เก็บไว้ได้แต่วุ่นวาย
เพราะไปหลงรักเจ้าดาว เกิดเรื่องราวจนร้อนใจ
อยากบอกรักกับดาว

ฝากรักไว้หน่อยได้ไหม นานเท่าไหร่ยังไม่รู้
แต่รักมันห้ามไม่อยู่ตอนนี้
ฝากรักไว้หน่อยเถอะน่ะ ฝากกับดาวที่แสนดี
รักจะได้ไม่มีวันจาง

แค่หนึ่งคนตรงนี้ แค่หนึ่งใจดวงนี้
ช่วยเก็บไว้ให้ทีที่ในแสงดาว
ให้วันไหนได้พักพิง ให้หัวใจไม่ว่างเปล่า
ได้บอกรักกับดาว

ฝากรักไว้หน่อยได้ไหม นานเท่าไหร่ยังไม่รู้
แต่รักมันห้ามไม่อยู่ตอนนี้
ฝากรักไว้หน่อยเถอะน่ะ ฝากกับดาวที่แสนดี
รักจะได้ไม่มีวันจาง

แค่หนึ่งคนตรงนี้ แค่หนึ่งใจดวงนี้
ช่วยเก็บไว้ให้ทีที่ในแสงดาว
ให้อุ่นในได้พักพิง ให้หัวใจไม่ว่างเปล่า
ได้บอกรัก ทุกคืน



อ้างอิงจาก...
http://www.siamzone.com  (เนื้อเพลง)
http://www.mixpod.com      (โค้ดเพลง)

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

งานในอาชีพของนักดาราศาสตร์

นิยามของอาชีพนักดาราศาตร์
ศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิเคราะห์ และพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับโครงสร้างการวิวัฒนาการ ขอบเขตและการแผ่พลังงานของเอกภพ ขนาด มวล รูปร่าง ระยะทาง การเคลื่อนที่วงโคจร ลักษณะส่วนประกอบ และโครงสร้างของวัตถุท้องฟ้า การก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ดาวคู่ ดาวกระจุก และกาแล็กซี อุณหภูมิ ความสว่าง องค์ประกอบเคมีและโครงสร้างภายในของดาวฤกษ์ และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์และเครื่องบันทึกสัญญาณต่างๆ เช่น สเปกโทรกราฟ โฟโตมิเตอร์ อินเตอร์เฟียโรมิเตอร์ เป็นต้น สังเกตวัตถุบนฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์เพื่อคำนวณตำแหน่งของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ คำนวณโคจรของดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาวเคราะห์น้อย ศึกษาปรากฏการณ์บนท้องฟ้า เช่น อุปราคา ฝนดาวตก แสงเหนือ แสงใต้ ศึกษากลุ่มดาว และสร้างแผนที่ดาว พัฒนาตารางคำนวณตำแหน่งและเวลาขึ้น ตก ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ เพื่อประโยชน์ทางคมนาคมทางอากาศและทางเรือ กำหนดเวลามาตรฐานสากลโดยการสังเกตวัตถุท้องฟ้า ประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านดาวเทียม ทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านดาวเทียม ทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางดาราศาสตร์ ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือ ตลอดจน สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อใช้ในการสังเกตการณ์ บันทึกรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านดาราศาสตร์ 

ลักษณะของงานที่ทำ
นักดาราศาสตร์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็น นักวิชาการ และอาจารย์ ในสถาบันระดับอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดสอนภาควิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ หรือโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา หน่วยวิจัยดาราศาสตร์ สมาคมดาราศาสตร์
โดยมีภาระกิจเกี่ยวข้องดังนี้
1. บรรยาย สอน เผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวกับดาราศาสตร์ อวกาศ สภาพอวกาศ 
2. ศึกษา ค้นคว้า วางแผนการวิจัย และการเตรียมการสังเกตการณ์ระดับชาติ 
3. จัดประชุมสัมมนาทางดาราศาสตร์ ในเรื่องการเรียนการสอน และการวิจัยทางด้านดาราศาสตร์
4. ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการปรับปรุงสารสนเทศทางด้านดาราศาสตร์
5. ประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลทางดาราศาสตร์ร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ   
6. จัดทำหลักสูตรหรือกิจกรรม  ร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน สมาคมดาราศาสตร์ หรือชมรมดาราศาสตร์ของจังหวัดต่างๆ ที่มีนักวิชาการหรืออาจารย์สอนด้านดาราศาสตร์ประจำอยู่ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ  
  
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
เป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในเรื่องดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์อวกาศ และสภาพอวกาศ นักเขียนหนังสือเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาให้กับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์