Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศัพท์ดาราศาสตร์

1) Achromatic Lens (อะ-โคร-มา-ติค-เลนซ์) หรือ achromat  เป็นเลนซ์ที่ถูกออกแบบมาให้ลดความคลาดเคลื่อนทางแสง โดยปกติจะใช้เลนซ์ 2 ชิ้นที่ทำจากเนื้อแก้วต่างชนิดกัน มาประกบกันเพื่อให้ได้ผลรวมของแสงตกมาอยู่ที่โฟกัสเดียวกัน

2) Active galactic nuclei (AGN) (แอค-ตีฟ-กา-แลค-ติด-นู-คลิ-ไอ) เป็นกาแลกซี่ทั่วไปที่มีหลุมดำ (Black Hole) ขนาดใหญ่กำลังดูดกลืน มวลสาร ของก๊าซโดยรอบอยู่ ซึ่งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลในรูปของสเปคตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงความถี่

3) Altitude (อัล-ติ-จูด) เป็นการวัดมุมสูงของวัตถุบนท้องฟ้า  เริ่มจากระดับสายตาของผู้สังเกต (Horizontal) 0 องศา สูงขึ้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ (Zenith) ค่า 90 องศา ถ้าวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาจะมีค่าเป็นลบ มุมสุงสุดจึงมีค่า 90 องศาเท่านั้น  ดูคำว่า Azimuth

4) Anomaly (อะ-โน-มา-รี่) เป็นการวัดเชิงมุมในการบอกตำแหน่งของวัตถุบนวงโคจรที่เป็นวงรี 

5) Apogee (อะ-โพ-จี่) ตำแหน่งไกลที่สุดบนวงโคจรของวัตถุ เช่น ดวงจันทร์ หรือดาวเทียม ที่โคจรเป็นวงรีรอบโลก ส่วนคำคู่กันคือ perigee คือตำแหน่งใกล้โลกที่สุด

6)Barnard's Star (บา-นาดร์-สตาร์) เป็นดาวแคระแดงอยู่ห่างจากโลก 6 ปีแสงในกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) เป็นดาวอยู่ใกล้โลกอันดับต่อจาก อัลซ่าเซนทอรี่ ผู้ค้นพบโดย E.E.Barnard  มีความสว่าง 9.5  หรือ 0.0004 เท่าของความสว่างของดวงอาทิตย์

7)Bennett Comet (ดาวหาง เบนเนท) หนึ่งในดาวหางที่สว่างในช่วงศตวรรณที่ 20  ค้นพบโดยนักดูดาวสมัครเล่นชาวอาฟริกาใต้ John Caister Bennett เมื่อปีคศ.1969

8)Blazar (บา-ซ่าร์) เป็นลูกผสมระหว่าง BL Lacertae Object  กับ ควอซ่าร์  เป็นพวกกาแลกซี่ที่ผิดแผกไปจากชาวบ้าน ที่เป็นพวก AGN  บาซ่าร์มีความสว่างเปลี่ยนแปลงแปรผันรุนแรงมาก รวมทั้งโพลาไรเซชั่นและการปล่อยคลื่นวิทยุ

9)Binary pulsar (ไบ-นา-รี่ พัล-ซาร์)  เป็นพัลซ่าร์ที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์คล้ายกับเป็นระบบดาวคู่ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี คศ.1974 คือ PSR 1913+16 ประกอบด้วยดาวนิวตรอนกับดาวที่ไม่ปล่อยคลื่นวิทยุ โคจรรอบกันกินเวลา 7 -3/4 ชั่วโมง

10)Butterfly Diagram (บัท-เทอ-ฟลาย ได-อะ-แกรม) เป็นแผนผังการเปลี่ยนแปลงจุดบนดวงอาทิตย์ในรอบ 11 ปี กราฟทางแนวตั้งบอกตำแหน่งละติจูดบนดวงอาทิตย์ ซึ่งจะสร้างภาพสมมาตรคล้ายรูปผีเสื้อ แผนผังนี้คิดขึ้นโดย Edward  Maunder เมื่อปี 1904

11)Cassini Division (แคส-ซิ-นี่ ดิวิชั่น)  เป็นช่องว่างระหว่างวงแหวน A และ B ของดาวเสาร์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Giovanni Cassini เมื่อปี คศ.1675  แต่ต่อมายานวอยเอเจอร์พบว่าไม่ได้เป็นช่องว่างแท้จริง แต่ประกอบด้วยวงแหวนเล็กๆอีกนับร้อยวง

12)Cassiopeia A (แคส-ซ-ิโอ-เปีย- เอ) แหล่งคลื่นวิทยุความเข้มสูงบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นซากหลงเหลือจากการระเบิดของซุปเปอร์โนวา เมื่อราว คศ.1660  แต่ไม่มีการบันทึกการเห็นไว้บนโลก ทิ้งซากไว้เป็นเนบิวล่าจางๆ อยู่ห่างจากโลกราว 10,000 ปีแสง

13)Celestial Equator (ซี-เลส-เชียน- อิ-เคว-เตอร์) เป็นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก ที่ขยายไปปรากฏบนทรงกลมท้องฟ้า เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า ดังนั้นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก กับ แนวเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า จะเป็นแนวเดียวกัน

14)Celestial Object (ซี-เลส-เชียน ออปเจ็คท์) ใช้เรียกวัตถุที่อยู่บนทรงกลมท้องฟ้า เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวหาง และอื่นๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์

15)Celestial mechanics (ซี-เลส-เชียน-แมค-คา-นิค) สาขาหนึ่งของวิชาดาราศาสตร์ ที่อธิบายถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุบนท้องฟ้า โดยใช้กฏ ทางฟิสิกส์ อธิบายแนวการโคจรของดาวเคราะห์ ดาวเทียม และอื่นๆ

16)Deep sky  เอกภพที่อยู่ไกลจากระบบสุริยะออกไป ได้แก่พวก กระจุกดาว  เนบิวล่า และ กาแลกซี่ โดยเรียกรวมๆกันว่า Deep sky object  ทั้งนี้จะไม่รวมดาวฤกษ์ไว้ด้วย

17)Degenerate matter (ดี-เจน-เนอ-เรท  แมท-เทอร์) สภาวะคงอยู่ของดาวฤกษ์ช่วงวิวัฒนาการสุดท้าย หลังจากที่พลังงานนิวเคลียร์ที่แกนกลางหมดลง

18)Doublet  (ดับ-เล็ท) เป็นลักษณะของเลนซ์สองชิ้นที่นำมาไว้ใกล้กันหรือคั่นด้วยช่องว่าง เพื่อลดอาการคลาดสีที่เรียกว่า chromatic aberration

19)Dwarf Galaxy  หรือกาแลกซี่แคระ เป็นกาแลกซี่ที่มีขนาดเล็กกว่ากาแลกซี่ทั่วไปและมีความสว่างน้อย โดยทั่วไปจะเป็นพวกกาแลกซี่รูปไข่(elliptical) หรือ กาแลกซี่ไร้รูปร่าง (Irregular)  มีกาแลกซี่แคราะมากมายเป็นเพื่อนบ้านของทางช้างเผือก อยู่ในกลุ่มกาแลกซี่ท้องถิ่น (Local Group)

20)Dynamical Parallax  เป็นระยะทางที่วัดจากระบบดาวคู่ กำหนดโดยความสัมพันธ์ระหว่างมวลของดาวทั้งสอง ขนาดวงโคจร และคาบ

21)Evolved star (อิ-ฝอลฟ-สตาร์) เป็นช่วงปลายสุดของชีวิตของดาวฤกษ์ เมื่อเชื้อเพลิงใกล้หมด โดยสังเกตได้จาก ผิวของดาวฤกษ์นั้นๆ

22)Event Horizon (อีเวนต์ ฮอลิโซน) เป็นขอบเขตของหลุมดำ (Black hole) ที่ซึ่งไม่มีวัตถุใดสามารถรอดพ้นการจับของหลุมดำไปได้ รัศมีของ Event Horizon เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ Schwarzschild radius

23)Fire ball (ไฟล์-บอล) เป็นคำจำกัดความเรียกดาวตกที่มีความสว่างมากๆ ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องมีความสว่างมากกว่าดาวเคราะห์ ซึ่งในปัจจุบัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ สว่างที่สุด ดังนั้น ดาวตกที่มีความสว่างมากกว่า -4.7 ก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ของ fire ball ด้วย ซึ่งฝนดาวตกเจมินิค ในเดือนธันวาคม จะปรากฏ fire ball มากกว่าอันอื่นๆ

24)Galactic halo (กา-แลค-ติค-ฮา-โล) คือขอบเขตทรงกลมที่ล้อมรอบศูนย์กลางของกาแลกซี่ รวมถึงเป็นขอบเขตสว่างของกาแลกซี่ ที่แผ่ขยายออกไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมวลของกาแลกซี่นั้น

25)Galaxy (กาแลกซี่) เป็นส่วนหนึ่งของเอกภพ ที่ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซ และดาวฤกษ์จำนวนนับล้านล้านดวง โดยส่งแรงดึงดูดถึงกันและกัน เกาะกลุ่มกันเป็นดาราจักร

26)Geocentric distance (จี-โอ-เซน-ทริด ดิส-แตนซ์) (delta) หมายถึงระยะทางจากวัตถุท้องฟ้าถึงโลก โดยทั่วไปจะใช้หน่วยวัดเป็น astronomical units (AU.)

27)Heliocentric distance (r) (ฮี-ลี-โอะ-เซ็น-ทริค-ดิซ-แทน) คือระยะทางจากวัตถุถึงดวงอาทิตย์ โดยทั่วไปจะบอกหน่วยเป็นastronomical units (AU.)

28)Inclination (อิน-คลิ-เน-ชัน) ระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์ เมื่อเทียบกับระนาบอิคลิปติด ว่าทำมุมกันกี่องศา เช่น ดวงจันทร์ มีระนาบ 5 deg 09 min

29)Julian Day (จูเลียน เดย์) เป็นระบบจำนวนวันแบบต่อเนื่องไม่มีการแบ่งเป็นเดือนหรือปี มักใช้ในทางดาราศาสตร์คำนวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นบนท้องฟ้า โดยวันที่ 1 January 4713 BC. เวลาเที่ยงวันตามเวลา GMT จะหมายถึงวันที่ 0 ของ julian day  แนวคิดนี้ ได้มาจาก นักประดิษฐปฏิทินชาวฝรั่งเศส ชื่อ Joseph Justus Scaliger เมื่อปี คศ.1582 โดยวันที่ 1 มกราคม 1995 เวลา 18.00 น.  มีค่าเท่ากับ 2,449,719.25

30)Kelvin อ่านว่า เคลวิน เป็นค่าองศาสัมบูรณ์ มีค่าเท่ากับ 273.16  องศาเซลเซียส หรือ  K = C + 273.16

31)Lunar Eclipse (ลูน่า อิคลิปส์) หรือ จันทรุปราคา  เป็นปรากฏการณ์ที่เงาของโลกบังดวงจันทร์ มักเกิดขึ้นช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เพราะดวงจันทร์ อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์พอดี

32)Meteoroids (มี-ทิ-เออ-ลอย) หรือดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มของวัตถุขนาดเล็กเป็นพวกหิน และฝุ่น ที่โคจรอยู่รอบ ดวงอาทิตย์ อยู่ระหว่าง ดาวอังคารกับดาวพฤหัส  ดาวเคราะห์น้อยบางดวงเป็นเศษซากหลงเหลือของดาวหางด้วย กลุ่มของดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้บางที่เราก็เรียกว่า Meteor Stream

33)Meteor Train (มี-ทิ-เออ-ทเรน) หางของฝุ่นหรือก๊าซที่แตกตัว หลงเหลือเป็นทางยาวตามแนวดาวตกนั่นเอง 

34)Nadir (เน-เดอะ) เป็นจุดที่อยู่ตรงข้ามกับจุด Zenith อยู่บริเวณท้าวของผู้สังเกตตรงลงไปใต้ดินผ่านไปฟากหนึ่งของโลก

35)Oort clound (อ๊อต-คราว) เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหาง หรือ ดงดาวหาง มีลักษณะเป็นทรงกลมล้อมรอบระบบสุริยะของเราอยู่ โดยอยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ 6,000 Au. หรือครึ่งทางจากดาวฤกษ์ดวงใกล้สุด ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นของ Ernst Opik ในปี 1932 และได้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยJan Oort ในปี 1950

36)Occultation (อ็อค-คัล-เท-ชั่น) คือการบังกันของวัตถุบนท้องฟ้า เช่นดาวเคราะห์บังแสงจากดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลๆ หรือ การที่ดวงจันทร์บังแสง จากดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างไกลออกไป

37)parsec (พา-เซค) ย่อว่า (pc) เป็นหน่วยวัดความยาวทางดาราศาสตร์ โดยที่ 1 พาเสค มีค่าเท่ากับ 3.26 ปีแสง หรือ 3.1 × 1016 กิโลเมตร

38)perigee (เพ-ลิ-จี) ตำแหน่งใกล้สุดบนวงโคจรของวัตถุที่โคจรรอบโลก เช่น ดาวเทียมหรือดวงจันทร์ (Moon) ตรงข้ามกับคำว่า apogee

39)perihelion (เพ-ลิ-ฮีล-เยน) ตำแหน่งใกล้สุดบนวงโคจรของวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิยต์เช่นดาวหาง หรือ ดาวเคราะห์ ตรงข้ามกับคำว่าaphelion

40)Plasma (พลาส-ม่า) หมายถึงก๊าซแรงดันต่ำ ซึ่งประกอบด้วยอะตอม และ อะตอมที่แตกตัว ของก๊าซ ซึ่งมีประจุบวกและลบในปริมาณที่เท่ากัน ทำให้มีสภาพเป็นกลาง

41)Radiant (เร-เดียท) จุดที่เสมือนว่าดาวตกได้แพร่กระจ่ายมาจากแหล่งนั้นบนท้องฟ้า

42)Radiant Drift (เร-เดียท-ดริฟท) เป็นการเคลื่อนที่ของตำแหน่ง radiant ของฝนดาวตก เมื่อเทียบกับดาวที่เป็นฉากหลัง  เกิดขึ้นจากที่โลก เคลื่อนที่ผ่านแนวของฝนดาวตกนั้นๆ 

43)Solar flares (โซ-ล่า-ฟแล) หมายถึง แรงระเบิดอย่างรุนแรงของก๊าซที่อยู่ผิวชั้นนอกของดวงอาทิตย์

44)Solar Eclipse (โซล่า-อิคลิปส์) เป็นปรากการณ์ที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ มักเกิดขึ้นช่วงขึ้น 1 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์พอดี

45)Solar Longitude (โซ-ล่า-ลอง-กิ-จูด) เป็นระยะห่างเชิงมุมที่กำหนดโดยตำแหน่งของโลกบนวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตำแหน่งเส้นลองกิจูดทางภูมิศาสตร์บนดวงอาทิตย์นั่นเอง

46)Terrestrial planets (เทอ-เลส-เชียน-แพลน-เนต)  เป็นคำที่ถูกใช้เรียกแทนดาวเคราะห์ 4 ดวงคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร เนื่องจากมีเอกลักษณ์คล้ายกัน เช่น ขนาดใกล้เคียงกัน ความหนาแน่น และ จำนวนบริวารซึ่งมีไม่มาก

47)umbra (อัม-บละ) ใช้เรียกบริเวณศูนย์กลางของจุดดับบนดวงอาทิตย์ ที่มีสีเข้มที่สุด หรือ เรียกบริเวณเงามืด ของปรากฏการณ์จันทรุปราคา ด้วยเช่นกัน คู่กับคำว่า penumbra

48)white dwarf  (ไว้ท-ดวอฟ) ดาวแคระขาว เป็นดาวฤกษ์ที่ขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ของเรา ที่หมดพลังงานนิวเคลียร์ที่แกนกลางแล้ว หลังจากที่ขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดง (Red Giant) แล้วก็จะเริ่มค่อยๆหดตัวเล็กๆ จนมีขนาดราว 1 ใน 100 ของดวงอาทิตย์หรือเท่ากับโลกของเรา ด้วยมวลที่เท่ากับดวงอาทิตย์และมีขนาดเท่าโลก ทำให้ความหนาแน่น ของดาวแคระขาวสูงมาก คือประมาณ 1 ล้านเท่าของความหนาแน่นของน้ำ

49)Zenith (ซี-นิธ)  คือจุดที่อยู่กลางศีรษะของผู้สังเกต บนทรงกลมท้องฟ้า (Celestial sphere) คนไทยเรียก "จุดจอมฟ้า หรือ จุดยอดฟ้า" ส่วนจุดที่อยุ่ตรงข้ามกับจุด Zenith เรียกว่า จุดnadir 

50)Zenithal Hourly Rate (ZHR) (ซี-นิท-เทอะ เอาว-รี เรท) เป็นอัตราการเกิดฝนดาวตกที่สังเกตได้จากผู้สังเกตเมื่อท้องฟ้ามืดสนิท โดยที่ตำแหน่ง radiant อยู่ที่จุดเหนือศีรษะพอดี
 


อ้างอิง

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17 มกราคม 2565 เวลา 05:27

    Play Jolly Card Poker for Real Money at Gold Casino 온라인카지노 온라인카지노 matchpoint matchpoint 298Free Vip Fixed Matches - Vie Casino

    ตอบลบ